เมนู

การนับจำนวนวาระในปัจจนียะ


[5] ในนอธิปติปัจจัย มี 3 วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี 3 วาระ
ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี 3 วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี 3 วาระ ในนวิปาก-
ปัจจัย มี 3 วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี 3 วาระ.

อนุโลมปัจจนียนัย


การนับจำนวนวาระในอนุโลมปัจจนียะ


[6] เพราะเหตุปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี 3 วาระ... ฯลฯ

ปัจจนียานุโลมนัย


การนับจำนวนวาระในปัจจนียานุโลม


[7] เพราะนอธิปติปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี 3 วาระ... ฯลฯ
สหชาตวาระก็ดี ปัจจยวาระก็ดี นิสสยวาระก็ดี สังสัฏฐวาระก็ดี
สัมปยุตตวาระก็ดี มี 3 วาระ ทุกปัจจัย.

เหตุบทปัญหาวาระ


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


[8] 1. เหตุธรรมที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรมที่เป็น
กุศล ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

2. เหตุธรรมที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรมที่เป็น
อกุศล ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย
3. เหตุธรรมที่เป็นอัพยากตะ เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม
ที่เป็นอัพยากตะ ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

2. อารัมมณปัจจัย


[9] 1. เหตุธรรมที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรมที่เป็น
กุศล ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
2. เหตุธรรมที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรมที่เป็น
อกุศล ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
3. เหตุธรรมที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรมที่เป็น
อัพยากตะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
4. เหตุธรรมที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรมที่เป็น
อกุศล ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย มี 3 วาระ (วาระที่ 4-5-6)
7. เหตุธรรมที่เป็นอัพยากตะ เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม
ที่เป็นอัพยากตะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย มี 3 วาระ (วาระที่
7-8-9)

3. อธิปติปัจจัย


[10] 1. เหตุธรรมที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรมที่เป็น
กุศล ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย